กรรมการลาออก ตั้งกรรมการใหม่ อนุมัติรายการที่เกี่ยวโยงกัน
17 ธันวาคม 2550
วันที่ 14 ธันวาคม 2550
เรื่อง แจ้งมติคณะกรรมการครั้งที่ 6/2550
เรียน กรรมการและผู้จัดการ
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ในการประชุมคณะกรรมการของบริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) ครั้งที่ 6/2550
วันที่ 14 ธันวาคม 2550 ได้มีมติที่สำคัญดังนี้
1. อนุมัติการลาออกของนางบุญสิน ศรีเลิศชัยพานิช จากตำแหน่งกรรมการของบริษัทฯ
โดยให้มีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 14 ธันวาคม 2550 เป็นต้นไป และแต่งตั้งนายเอ็ดวิน เอเดรียน แลงเซ่
เป็นกรรมการของบริษัทฯ แทนตำแหน่งที่ว่างลง
2. กำหนดชื่อกรรมการผู้มีอำนาจลงนามผูกพันบริษัทฯ ใหม่เป็นดังนี้คือ "จำนวนหรือชื่อกรรมการซึ่ง
จะลงชื่อเป็นสำคัญผูกพันบริษัทฯ คือ นางสุชาดา อิทธิจารุกุล นางเสาวลักษณ์ ถิฐาพันธ์ นายรู้ด จาโคบัส เฟเบอร์
และนายเดนนิส เคซี่ กรรมการสองในสี่คนนี้ลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราสำคัญของบริษัทฯ"
3. ให้สัตยาบันสำหรับรายจ่ายที่เพิ่มขึ้นจากรายการที่เกี่ยวโยงกันสำหรับปี 2550
บริษัทฯ ได้ขออนุมัติการทำรายการที่เกี่ยวโยงกันสำหรับปี 2550 แล้ว ตามมติที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทครั้งที่
8/2549 เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2549 แต่เนื่องจากหลังจากนั้นมีรายการที่เกี่ยวโยงกันเพิ่มขึ้นและมีรายการที่
เกี่ยวโยงกันที่ได้รับอนุมัติไปแล้วบางรายการมีจำนวนเงินเพิ่มขึ้น โดยมีรายละเอียดดังนี้
3.1) สัญญารับอนุญาตให้ใช้ซอฟต์แวร์ โดยมีสาระสำคัญดังนี้
3.1.1) วันเดือนปีที่มีการตกลงเข้าทำรายการ วันที่ 1 มกราคม 2550
อายุสัญญา 1 ปี การต่อสัญญาเป็นแบบปีต่อปีต่อเนื่องกัน
คู่สัญญาผู้อนุญาตให้ใช้ซอฟต์แวร์ บริษัท ออร์คัม เอเชีย แมเนจเม้นท์ เอจี จำกัด (OAM)
คู่สัญญาผู้รับอนุญาต บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) (SML)
3.1.2) ลักษณะของบริการ การรับอนุญาตให้ใช้โปรแกรมซอฟต์แวร์ของระบบ
สารสนเทศชื่อ MBS 2000
3.1.3) มูลค่ารวมของสิ่งตอบแทน Euro 22,689 ต่อ 1 สาขาที่เปิดใหม่ของห้างแม็คโคร
ซึ่งเป็นการเรียกเก็บครั้งเดียว เฉพาะสาขาที่เปิดใหม่
ของห้าง SML เท่านั้น SML รับผิดชอบจ่ายค่าภาษีที่
เกี่ยวข้องกับการชำระเงินข้างต้น
3.1.4) ลักษณะและขอบเขตของส่วนได้เสีย บริษัท ออร์คัม เอเชีย แมเนจเม้นท์ เอจี จำกัด เป็น
ของบุคคลที่เกี่ยวโยงกัน บริษัทในกลุ่ม เอสเอชวี ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ถือหุ้น
ของบริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) ทั้งทางตรง
และทางอ้อมเกินกว่า 10%
3.1.5) เหตุผลและความจำเป็นของบริษัทฯ บริษัทฯ ใช้ซอฟต์แวร์ดังกล่าวในการบันทึกรายการ
ขายสินค้า การบันทึกการรับสินค้า การเคลื่อนไหว
ของสินค้าและระบบข้อมูลลูกค้าของสาขาของบริษัทฯ
โดยสามารถใช้ซอฟต์แวร์ดังกล่าวทำข้อมูล สาขาใหม่
และข้อมูลรวมของทุกสาขาได้โดยต้นทุนการใช้
ซอฟต์แวร์ถูกกว่าการพัฒนาซอฟต์แวร์ในประเทศเอง
3.1.6) กรรมการที่มีส่วนได้เสีย และ/หรือ (1) นายเดนนิส เคซี่
กรรมการที่เป็นบุคคลที่เกี่ยวโยงกันไม่เข้า (2) นายรู้ด จาโคบัส เฟเบอร์
ประชุมและไม่มีสิทธิออกเสียงในที่ประชุม
ค่าใช้จ่ายที่ได้รับอนุมัติ (รวมภาษี) 2,350,000 บาท
ค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นในปี 2550 (รวมภาษี) 13,613,400 บาท
ค่าใช้จ่ายสูงกว่าที่ขออนุมัติ 11,263,400 บาท เนื่องมาจากการเปิดสาขาใหม่ 12
สาขา แทนที่ขออนุมัติไว้เพียง 2 สาขา
ณ วันที่ 30 กันยายน 2550 สินทรัพย์ที่มีตัวตนสุทธิตามงบการเงินรวมของบริษัทฯ มีจำนวน 7,929 ล้านบาท
ดังนั้น ขนาดของรายการดังกล่าวข้างต้นจะมีมูลค่าเกิน 0.03% หรือเท่ากับ 2.38 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 3%
หรือเท่ากับ 238 ล้านบาท ซึ่งไม่เข้าเกณฑ์ที่ต้องได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น
4. อนุมัติการทำรายการที่เกี่ยวโยงกันสำหรับปี 2551
4.1) สัญญารับอนุญาตให้ใช้ซอฟต์แวร์ โดยมีสาระสำคัญดังต่อไปนี้
4.1.1) วันเดือนปีที่มีการตกลงเข้าทำรายการ วันที่ 1 มกราคม 2551
อายุสัญญา 1 ปี การต่อสัญญาเป็นแบบปีต่อปีต่อเนื่องกัน
คู่สัญญาผู้อนุญาตให้ใช้ซอฟต์แวร์ บริษัท ออร์คัม เอเชีย แมเนจเม้นท์ เอจี จำกัด (OAM)
คู่สัญญาผู้รับอนุญาต บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) (SML)
4.1.2) ลักษณะของบริการ การรับอนุญาตให้ใช้โปรแกรมซอฟต์แวร์ของระบบ
สารสนเทศชื่อ MBS 2000
4.1.3) มูลค่ารวมของสิ่งตอบแทน Euro 22,689 ต่อ 1 สาขาที่เปิดใหม่ของห้างแม็คโคร
ซึ่งเป็นการเรียกเก็บครั้งเดียว เฉพาะสาขาที่เปิดใหม่
ของห้าง SML เท่านั้น SML รับผิดชอบจ่ายค่าภาษีที่
เกี่ยวข้องกับการชำระเงินข้างต้น
4.1.4) ลักษณะและขอบเขตของส่วนได้เสีย บริษัท ออร์คัม เอเชีย แมเนจเม้นท์ เอจี จำกัด เป็น
ของบุคคลที่เกี่ยวโยงกัน บริษัทในกลุ่ม เอสเอชวี ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ถือหุ้น
ของบริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) ทั้งทางตรง
และทางอ้อมเกินกว่า 10%
4.1.5) เหตุผลและความจำเป็นของบริษัทฯ บริษัทฯ ใช้ซอฟต์แวร์ดังกล่าวในการบันทึกรายการ
ขายสินค้า การบันทึกการรับสินค้า การเคลื่อนไหว
ของสินค้าและระบบข้อมูลลูกค้าของสาขาของบริษัทฯ
โดยสามารถใช้ซอฟต์แวร์ดังกล่าวทำข้อมูล สาขาใหม่
และข้อมูลรวมของทุกสาขาได้โดยต้นทุนการใช้
ซอฟต์แวร์ถูกกว่าการพัฒนาซอฟต์แวร์ในประเทศเอง
4.1.6) กรรมการที่มีส่วนได้เสีย และ/หรือ (1) นายเดนนิส เคซี่
กรรมการที่เป็นบุคคลที่เกี่ยวโยงกันไม่เข้า (2) นายรู้ด จาโคบัส เฟเบอร์
ประชุมและไม่มีสิทธิออกเสียงในที่ประชุม
ประมาณการรายจ่ายที่เกิดขึ้นในปี 2551 1,270,000 บาท ต่อ 1 สาขาที่เปิดใหม่
(รวมภาษี)
ณ วันที่ 30 กันยายน 2550 สินทรัพย์ที่มีตัวตนสุทธิตามงบการเงินรวมของบริษัทฯ มีจำนวน 7,929 ล้านบาท
ดังนั้น ขนาดของรายการดังกล่าวข้างต้นจะมีมูลค่าไม่เกิน 0.03% หรือเท่ากับ 2.38 ล้านบาท ซึ่งไม่เข้าเกณฑ์ที่ต้อง
ได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น
4.2) สัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิในเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการ โดยมีสาระสำคัญดังนี้
4.2.1) วันเดือนปีที่มีการตกลงเข้าทำรายการ วันที่ 1 มกราคม 2551
อายุสัญญา ระยะเวลา 1/1/2551-31/12/2551
คู่สัญญาผู้อนุญาต บริษัท ออร์คัม เอเชีย เทรดมาร์ค เอจี จำกัด (OAT)
คู่สัญญาผู้รับอนุญาต บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) (SML)
บริษัท แม็คโครออฟฟิศเซ็นเตอร์ จำกัด (MOC)
4.2.2) ลักษณะของบริการ การรับอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้า เครื่องหมาย
บริการ
4.2.3) มูลค่ารวมของสิ่งตอบแทน ร้อยละ 0.5 ของยอดขายของ 10 สาขาแรกของบริษัท
สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) และทุกสาขาของบริษัท
แม็คโครออฟฟิศเซ็นเตอร์ จำกัด SML และ MOC
รับผิดชอบค่าภาษีที่เกียวข้องกับการชำระเงินข้างต้น
4.2.4) ลักษณะและขอบเขตของส่วนได้เสีย บริษัท ออร์คัม เอเชีย เทรดมาร์ค เอจี จำกัด เป็น
ของบุคคลที่เกี่ยวโยงกัน บริษัทในกลุ่ม เอสเอชวี ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ถือหุ้น
ของบริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) ทั้งทางตรง
และทางอ้อมเกินกว่า 10%
4.2.5) เหตุผลและความจำเป็นของบริษัทฯ บริษัทฯใช้เครื่องหมายการค้า "Makro", "MOC",
"ARO" เป็นต้นในการดำเนินธุรกิจโดยใช้รูปแบบ
ร้านค้า การจัดเรียงสินค้ารวมทั้งการบริหารธุรกิจ
และเมื่อมีการพัฒนารูปแบบร้านค้าใหม่ของ "Makro"
หรือ "MOC" ในประเทศต่างๆ บริษัทฯ จะได้รับ
ความรู้ และเทคนิคในการดำเนินธุรกิจที่ส่งผลถึง
ประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ
4.2.6) กรรมการที่มีส่วนได้เสีย และ/หรือ (1) นายเดนนิส เคซี่
กรรมการที่เป็นบุคคลที่เกี่ยวโยงกันไม่เข้า (2) นายรู้ด จาโคบัส เฟเบอร์
ประชุมและไม่มีสิทธิออกเสียงในที่ประชุม
158,500,000 บาท
ประมาณการรายจ่ายที่เกิดขึ้นในปี 2551 158,500,000 บาท
(รวมภาษี)
ณ วันที่ 30 กันยายน 2550 สินทรัพย์ที่มีตัวตนสุทธิตามงบการเงินรวมของบริษัทฯ มีจำนวน 7,929 ล้านบาท
ดังนั้น ขนาดของรายการดังกล่าวข้างต้นจะมีมูลค่าเกิน 0.03% หรือเท่ากับ 2.38 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 3%
หรือเท่ากับ 238 ล้านบาท ซึ่งไม่เข้าเกณฑ์ที่ต้องได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น
4.3) ค่าเบี้ยประกันภัย Umbrella Insurance ที่จัดทำให้SML & MOC โดยบริษัท ออร์คัม เอเชีย แมเนจเม้นท์
เอจี จำกัด จำนวน EUR 52,000 ซึ่งจะเป็นค่าใช้จ่ายประมาณ 2.6 ล้านบาท (อัตราแลกเปลี่ยน 50 บาท ต่อ
1 EUR) (ไม่มีภาษีหัก ณ ที่จ่าย)
4.3.1) เหตุผลและความจำเป็นของบริษัทฯ เพื่อลดความเสี่ยงในเรื่องความเสียหายที่อาจจะเกิด
ขึ้นจากการกระทำต่างๆของ SML&MOC ต่อบุคคล
ภายนอกโดยทำประกันในวงเงิน 50 ล้านยูโร
(ประมาณ 2,450 ล้านบาท) ซึ่งค่าเบี้ยประกันจะถูก
กว่าการประกันภัยโดย SML เอง
4.3.2) กรรมการที่มีส่วนได้เสีย และ/หรือ (1) นายเดนนิส เคซี่
กรรมการที่เป็นบุคคลที่เกี่ยวโยงกันไม่เข้า (2) นายรู้ด จาโคบัส เฟเบอร์
ประชุมและไม่มีสิทธิออกเสียงในที่ประชุม
ประมาณการรายจ่ายที่เกิดขึ้นในปี 2551 2,600,000 บาท ( EUR 52,000 อัตราแลกเปลี่ยน
(ไม่รวมภาษี) 50 บาท ต่อ 1 EUR )
ณ วันที่ 30 กันยายน 2550 สินทรัพย์ที่มีตัวตนสุทธิตามงบการเงินรวมของบริษัทฯ มีจำนวน 7,929 ล้านบาท
ดังนั้น ขนาดของรายการดังกล่าวข้างต้นจะมีมูลค่าเกิน 0.03% หรือเท่ากับ 2.38 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 3%
หรือเท่ากับ 238 ล้านบาท ซึ่งไม่เข้าเกณฑ์ที่ต้องได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น
4.4) สัญญาอนุญาตให้ใช้ซอฟต์แวร์ Prophix (สำหรับการจัดทำงบประมาณ) โดยมีสาระสำคัญดังนี้
4.4.1) วันเดือนปีที่มีการตกลงเข้าทำรายการ วันที่ 1 ธันวาคม 2549
อายุสัญญา ไม่มีกำหนดเว้นแต่คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดจะบอกเลิก
สัญญา 3 เดือนล่วงหน้าก่อน 31 ธันวาคม ของทุกปี
คู่สัญญาผู้อนุญาตให้ใช้ซอฟต์แวร์ บริษัท ออร์คัม เอเชีย แมเนจเม้นท์ เอจี จำกัด (OAM)
คู่สัญญาผู้รับอนุญาต บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) (SML)
4.4.2) ลักษณะของบริการ การปรับปรุงและพัฒนาซอฟต์แวร์ Prophix เพื่อใช้ใน
การจัดทำงบประมาณและรายงานต่างๆ
4.4.3) มูลค่ารวมของสิ่งตอบแทน USD 4,180 ซึ่งเป็นการเก็บรายปี (20% ของค่าธรรม
เนียม USD 550 ต่อผู้ใช้ โดยมี 38 ผู้ใช้ โดย SML รับ
ผิดชอบจ่ายค่าภาษีที่เกี่ยวข้องกับการชำระเงินข้างต้น
4.4.4) ลักษณะและขอบเขตของส่วนได้เสีย บริษัท ออร์คัม เอเชีย แมเนจเม้นท์ เอจี จำกัด เป็น
ของบุคคลที่เกี่ยวโยงกัน บริษัทในกลุ่ม เอสเอชวี ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ถือหุ้น
ของบริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) ทั้งทางตรง
และทางอ้อมเกินกว่า 10%
4.4.5) เหตุผลและความจำเป็นของบริษัทฯ บริษัทฯ ใช้ซอฟต์แวร์ดังกล่าวในการจัดทำงบประมาณ
และรายงานต่างๆ เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพในระบบ
งานของบริษัทฯ โดยต้นทุนการใช้ซอฟต์แวร์ถูกกว่า
การพัฒนาซอฟต์แวร์ในประเทศเอง
4.4.6) กรรมการที่มีส่วนได้เสีย และ/หรือ (1) นายเดนนิส เคซี่
กรรมการที่เป็นบุคคลที่เกี่ยวโยงกันไม่เข้า (2) นายรู้ด จาโคบัส เฟเบอร์
ประชุมและไม่มีสิทธิออกเสียงในที่ประชุม
ประมาณการรายจ่ายที่เกิดขึ้นในปี 2551 170,000 บาท
(รวมภาษี)
ณ วันที่ 30 กันยายน 2550 สินทรัพย์ที่มีตัวตนสุทธิตามงบการเงินรวมของบริษัทฯ มีจำนวน 7,929 ล้านบาท
ดังนั้น ขนาดของรายการดังกล่าวข้างต้นจะมีมูลค่าไม่เกิน 0.03% หรือเท่ากับ 2.38 ล้านบาท ซึ่งไม่เข้าเกณฑ์ที่ต้อง
ได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น
4.5) สัญญาค่าใช้เครื่องมือและเว็บไซท์สำหรับการประมูลทางอินเตอร์เน็ต (Auction)
4.5.1) วันเดือนปีที่มีการตกลงเข้าทำรายการ วันที่ 1 มกราคม 2551
อายุสัญญา 1 ปี สิ้นสุด 31 ธันวาคม 2551
คู่สัญญาผู้ให้บริการ บริษัท แม็คโคร เอเชีย แมเนจเม้นท์ จำกัด (MAM)
คู่สัญญาผู้รับบริการ บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) (SML)
4.5.2) ลักษณะของบริการ การได้รับสิทธิในการเข้าไปใช้เครื่องมือ ซอฟต์แวร์
ในการประมูลทางอินเตอร์เน็ต จากการที่ MAM
เป็นสมาชิกของ WorldWide Retail Exchange
LLC (WWRE)
4.5.3) มูลค่ารวมของสิ่งตอบแทน ส่วนแบ่งค่าใช้จ่าย (ค่าสมาชิกของ WWRE) จะขึ้น
อยู่กับยอดซื้อที่ถูกทำผ่านระบบการประมูลในปี 2551
โดยจ่าย ณ วันที่ 30 มิถุนายน และ 31 ธันวาคม
4.5.4) ลักษณะและขอบเขตของส่วนได้เสีย บริษัท แม็คโคร เอเชีย แมเนจเม้นท์ จำกัด เป็น
ของบุคคลที่เกี่ยวโยงกัน บริษัทในกลุ่ม เอสเอชวี ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ถือหุ้น
ของบริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) ทั้งทางตรง
และทางอ้อมเกินกว่า 10%
4.5.5) เหตุผลและความจำเป็นของบริษัทฯ เนื่องจากการประมูลจะทำให้บริษัทฯ สามารถได้ต้นทุน
สินค้า รวมทั้งค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่ต่ำเนื่องจากจะต้องมีการ
แข่งขันในการเสนอราคาทั้งสินค้าและบริการต่างๆ ซึ่ง
จะเป็นประโยชน์ต่อบริษัทฯ
4.5.6) กรรมการที่มีส่วนได้เสีย และ/หรือ (1) นายเดนนิส เคซี่
กรรมการที่เป็นบุคคลที่เกี่ยวโยงกันไม่เข้า (2) นายรู้ด จาโคบัส เฟเบอร์
ประชุมและไม่มีสิทธิออกเสียงในที่ประชุม
ประมาณการรายจ่ายที่เกิดขึ้นในปี 2551 700,000 บาท
ณ วันที่ 30 กันยายน 2550 สินทรัพย์ที่มีตัวตนสุทธิตามงบการเงินรวมของบริษัทฯ มีจำนวน 7,929 ล้านบาท
ดังนั้น ขนาดของรายการดังกล่าวข้างต้นจะมีมูลค่าไม่เกิน 0.03% หรือเท่ากับ 2.38 ล้านบาท ซึ่งไม่เข้าเกณฑ์ที่ต้อง
ได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น
4.6) ระบบงาน Business Intelligence (BI) (สัญญาที่ปรึกษา สัญญาอนุญาตให้ใช้ซอฟต์แวร์และสัญญา
ซ่อมบำรุง) โดยมีสาระสำคัญดังนี้
4.6.1) วันเดือนปีที่มีการตกลงเข้าทำรายการ วันที่ 1 ธันวาคม 2549
อายุสัญญา 1 ปี การต่อสัญญาเป็นแบบปีต่อปีต่อเนื่องกัน
คู่สัญญาผู้อนุญาตให้ใช้ซอฟต์แวร์ บริษัท ออร์คัม เอเชีย แมเนจเม้นท์ เอจี จำกัด (OAM)
คู่สัญญาผู้รับอนุญาต บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) (SML)
4.6.2) ลักษณะของบริการ การรับอนุญาตให้ใช้โปรแกรมซอฟต์แวร์ของ
ระบบ BI โดยได้รับ source code จากคู่สัญญา
4.6.3) มูลค่ารวมของสิ่งตอบแทน EUR 140,000 (ประมาณ 8 ล้านบาท) SML
รับผิดชอบจ่ายค่าภาษีที่เกี่ยวข้องกับการชำระเงิน
ข้างต้น
4.6.4) ลักษณะและขอบเขตของส่วนได้เสีย OAM เป็นบริษัทในกลุ่ม เอสเอชวี ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้น
ของบุคคลที่เกี่ยวโยงกัน รายใหญ่ถือหุ้นของบริษัท สยามแม็คโคร จำกัด
(มหาชน) ทั้งทางตรงและทางอ้อมเกินกว่า 10%
4.6.5) เหตุผลและความจำเป็นของบริษัทฯ บริษัทฯ ใช้ซอฟต์แวร์ดังกล่าวในการประมวลผล
ข้อมูลจากสาขาและสำนักงานใหญ่และจัดทำเป็น
รายงานในรูปแบบมาตรฐานเพื่อการวิเคราะห์ การ
ตัดสินใจอย่างทันเวลาและเปรียบเทียบกับข้อมูลที่
ตั้งไว้เป็นค่าวัดผลงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของ
บริษัทฯ ที่ตั้งไว้
4.6.6) กรรมการที่มีส่วนได้เสีย และ/หรือ (1) นายเดนนิส เคซี่
กรรมการที่เป็นบุคคลที่เกี่ยวโยงกันไม่เข้า (2) นายรู้ด จาโคบัส เฟเบอร์
ประชุมและไม่มีสิทธิออกเสียงในที่ประชุม
ประมาณการรายจ่ายที่เกิดขึ้นในปี 2551 8,000,000 บาท
(รวมภาษี)
ณ วันที่ 30 กันยายน 2550 สินทรัพย์ที่มีตัวตนสุทธิตามงบการเงินรวมของบริษัทฯ มีจำนวน 7,929 ล้านบาท
ดังนั้น ขนาดของรายการดังกล่าวข้างต้นจะมีมูลค่าเกิน 0.03% หรือเท่ากับ 2.38 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 3%
หรือเท่ากับ 238 ล้านบาท ซึ่งไม่เข้าเกณฑ์ที่ต้องได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น
4.7) ค่าใช้จ่ายในการใช้ระบบ Thin client และ Outlook soft โดยมีสาระสำคัญดังนี้
4.7.1) คู่สัญญาผู้อนุญาตให้ใช้ซอฟต์แวร์ บริษัท ออร์คัม เอเชีย แมเนจเม้นท์ เอจี จำกัด (OAM)
คู่สัญญาผู้รับอนุญาต บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) (SML)
อายุสัญญา 1 ปี
4.7.2) ลักษณะของบริการ - Thin Client ใช้ในการบริหารการจัดเก็บข้อมูลของ
ผู้บริหารและการป้องกันความเสี่ยงในการสูญหาย
และการรั่วไหลของข้อมูล
- Outlook soft ใช้สำหรับการทำรายงานด้านบัญชี
4.7.3) มูลค่ารวมของสิ่งตอบแทน EUR 106,000 SMLรับผิดชอบจ่ายค่าภาษี
ที่เกี่ยวข้องกับการชำระเงินข้างต้น
4.7.4) ลักษณะและขอบเขตของส่วนได้เสีย บริษัท ออร์คัม เอเชีย แมเนจเม้นท์ เอจี จำกัด เป็น
ของบุคคลที่เกี่ยวโยงกัน บริษัทในกลุ่ม เอสเอชวี ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ถือหุ้น
ของบริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) ทั้งทางตรง
และทางอ้อมเกินกว่า 10%
4.7.5) เหตุผลและความจำเป็นของบริษัทฯ บริษัทฯ จะใช้ซอฟต์แวร์ดังกล่าวในการดำเนินธุรกิจ
ประจำวันเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพในระบบ
การจัดการของบริษัทฯ และป้องกันความเสี่ยงในการ
สูญหายของข้อมูล โดยต้นทุนการใช้ซอฟต์แวร์ถูกกว่า
การพัฒนาซอฟต์แวร์ในประเทศเอง
4.7.6) กรรมการที่มีส่วนได้เสีย และ/หรือ (1) นายเดนนิส เคซี่
กรรมการที่เป็นบุคคลที่เกี่ยวโยงกันไม่เข้า (2) นายรู้ด จาโคบัส เฟเบอร์
ประชุมและไม่มีสิทธิออกเสียงในที่ประชุม
ประมาณการรายจ่ายที่เกิดขึ้นในปี 2551 6,000,000 บาท
(รวมภาษี)
ณ วันที่ 30 กันยายน 2550 สินทรัพย์ที่มีตัวตนสุทธิตามงบการเงินรวมของบริษัทฯ มีจำนวน 7,929 ล้านบาท
ดังนั้น ขนาดของรายการดังกล่าวข้างต้นจะมีมูลค่าเกิน 0.03% หรือเท่ากับ 2.38 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 3%
หรือเท่ากับ 238 ล้านบาท ซึ่งไม่เข้าเกณฑ์ที่ต้องได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น
4.8) ค่าใช้จ่ายในการใช้ซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัส (Symantec License) และซอฟต์แวร์ VPN
4.8.1) วันเดือนปีที่มีการตกลงเข้าทำรายการ วันที่ 1 ตุลาคม 2549 และวันที่ 1 มกราคม 2550
อายุสัญญา 2 ปี สิ้นสุด 30 กันยายน 2551 และวันที่ 31
ธันวาคม 2551
คู่สัญญาผู้ให้บริการ บริษัท เอสเอชวี โฮลดิ้ง เอ็นวี. จำกัด (SHV)
คู่สัญญาผู้รับบริการ บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) (SML)
4.8.2) ลักษณะของบริการ การได้รับสิทธิในการเข้าไปใช้ซอฟต์แวร์ป้องกัน
ไวรัส (Symantec License)
4.8.3) มูลค่ารวมของสิ่งตอบแทน EUR 27,000 โดยที่ SMLรับผิดชอบจ่ายค่าภาษีที่
เกี่ยวข้องกับการชำระเงินข้างต้น
4.8.4) ลักษณะและขอบเขตของส่วนได้เสีย บริษัท เอสเอชวี โฮลดิ้ง เอ็นวี. เป็นบริษัทในกลุ่ม
ของบุคคลที่เกี่ยวโยงกัน เอสเอชวี ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ถือหุ้นของบริษัท
สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) ทั้งทางตรงและ
ทางอ้อมเกินกว่า 10%
4.8.5) เหตุผลและความจำเป็นของบริษัทฯ เพื่อใช้ป้องกันการติดไวรัสในระบบคอมพิวเตอร์
ซึ่งค่าใช้จ่ายถูกกว่าซื้อตรงจากบริษัทผู้เป็นเจ้าของ
(ยังมีต่อ)