คำถามที่พบบ่อย
ผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัทคือกลุ่ม CP ซึ่งมีสัดส่วนการถือหุ้นอยู่ที่ร้อยละ 85 ตามด้วยผู้ถือหุ้นรายย่อยจำนวนร้อยละ 15
หากไม่มีความจำเป็นอื่นใด คณะกรรมการบริษัทฯ มีนโยบายที่จะเสนอให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นพิจารณาจ่ายเงินปันผลของบริษัทฯ แก่ผู้ถือหุ้นเป็นจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 ของกำไรสุทธิที่หักภาษีเงินได้แล้วในแต่ละปี ตามงบการเงินรวมโดยเริ่มจากผลการดำเนินงานตั้งแต่ปี 2537 เป็นต้นไป
- ในปี 2567 ยอดขาย Omni Channel คิดเป็นร้อยละ 18 ของยอดขายทั้งหมด
- บริษัทฯ ตั้งเป้าหมายขยายสัดส่วนนี้เป็นร้อยละ 50 ภายใน 5 ปีข้างหน้า โดยมุ่งเน้นการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล ความสะดวกสบายของลูกค้า และระบบนิเวศค้าปลีกแบบผสานช่องทางออนไลน์และออฟไลน์
- บริษัทฯ ได้รับการยอมรับให้เป็น "อันดับ 1 ด้านอีคอมเมิร์ซสำหรับสินค้าอุปโภคบริโภคในประเทศไทย" โดย Euromonitor ความสำเร็จนี้สะท้อนให้เห็นถึงความแข็งแกร่งของแพลตฟอร์ม Makro PRO และ My Lotus’s รวมถึงการจัดส่งที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งทำให้เราก้าวสู่ความเป็นผู้นำด้านดิจิทัลในอุตสาหกรรมค้าส่งค้าปลีก
ในปี 2568 บริษัทฯ ได้ตั้งงบลงทุนอยู่ระหว่าง 24 พันล้านบาท และ 28 พันล้านบาท ซึ่งจะนำไปใช้สำหรับการดำเนินงานและการลงทุน โดยการจัดสรรงบลงทุนนี้จะเน้นไปที่การขยายสาขาใหม่ และการปรับปรุงสาขาเดิม ทั้งในประเทศและในระดับภูมิภาค รวมถึงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน
อย่างไรก็ตาม งบลงทุนที่กำหนดไว้อาจไม่ได้ถูกใช้ในเต็มจำนวน เนื่องจากบริษัทฯ พิจารณาการขยายธุรกิจในระดับภูมิภาคอย่างรอบคอบและมีวินัยทางการเงิน ท่ามกลางความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน บริษัทฯ เฝ้าติดตามสภาวะตลาดในภูมิภาคอย่างใกล้ชิด และจะดำเนินการขยายธุรกิจไปประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคต่อเมื่อสภาพแวดล้อมทางธุรกิจมีความมั่นคง โดยจะเลือกลงทุนในประเทศที่มีการเติบโตของ GDP สูง ให้ผลตอบแทนอย่างยั่งยืน และมีสภาพแวดล้อมทางกฎหมายเอื้ออำนวย เพื่อให้เกิดการใช้เงินลงทุนอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
บริษัทฯ และบริษัทย่อยมีแผนขยายพื้นที่เช่าในสาขาเดิม เพื่อสร้างมูลค่าและตอบสนองต่อความต้องการของตลาด โดยกลยุทธ์ในการพัฒนาพื้นที่เช่า สามารถแบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลัก ดังนี้
- Mall Improvement: ปรับปรุง 87 สาขา ภายใน 3-5 ปี เพื่อเพิ่มประสบการณ์การชอปปิงและดึงดูดผู้เช่าคุณภาพสูง
- Mall Expansion: ขยายพื้นที่เช่าจากพื้นที่ขายเดิม หรือการปรับปรุงพื้นที่ที่ยังไม่ใช้ประโยชน์ให้กลายเป็นพื้นที่เช่าที่สามารถสร้างรายได้และเป็นศูนย์กลางของชุมชน 100 แห่งทั่วประเทศ
- Community Center: พัฒนา 16 แห่งในทำเลยุทธศาสตร์ เพื่อเพิ่มมูลค่าทรัพย์สิน
บริษัทฯ คาดว่าจะสามารถเพิ่ม NLA ได้ 80,000 ตารางเมตรในปี 2568 มาจาก 20,000 ตร.ม. จากการเปิดสาขาใหม่ 20,000 ตร.ม. จากโครงการปรับปรุงและขยายพื้นที่เช่า ส่วนที่เหลือจะทยอยเพิ่มขึ้นตามแผนการเปิดโครงการ ของ Lotus’s Mall Bangna (The Happitat) เริ่มตั้งแต่ไตรมาส 4/2568 จนถึงต้นปี 2569
ภายในปี 2572 บริษัทฯ คาดว่าจะสามารถเพิ่มพื้นที่เช่าอีก 240,000 ตร.ม. จากปี 2567 โดยอาศัยกลยุทธ์การขยายธุรกิจและการปรับปรุงพื้นที่อย่างต่อเนื่อง
โครงการ Lotus’s Mall Bangna ตั้งอยู่บนที่ดินประมาณ 30 ไร่ (11.86 เอเคอร์) ซึ่งบริษัทฯ เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินประมาณ 24 ไร่ (9.48 เอเคอร์) และส่วนที่เหลือเป็นสิทธิ์การเช่าถือครองอสังหาริมทรัพย์ในระยะยาว
โครงการทั้งหมดประกอบไปด้วย 3 อาคาร ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
- อาคาร N1: ศูนย์กลางค้าปลีก แหล่งไลฟ์สไตล์ชอปปิง พร้อมพื้นที่เช่าสำหรับฟิตเนส สระว่ายน้ำ และลานกิจกรรมสำหรับกีฬา
- อาคาร N2: อาคารสำนักงานจำนวน 10 ชั้น พร้อมพื้นที่เช่าสำหรับศูนย์อาหาร
- อาคาร N3: พื้นที่ค้าปลีก รวมร้านค้า ร้านอาหาร และ Festive Town
ณ เดือนมีนาคม 2568 โครงการ Lotus’s Mall Bangna ได้เริ่มดำเนินงานก่อสร้างและมีความคืบหน้าในการก่อสร้างถึงร้อยละ 80 โดยอาคาร N3 และพื้นที่สำนักงานในอาคาร N2 บางส่วนมีกำหนดเปิดให้บริการในปลายไตรมาสที่ 4 ปี 2568 และส่วนที่เหลือของโครงการคาดว่าจะแล้วเสร็จในไตรมาสที่ 1 ปี 2569 ซึ่งจะกลายเป็นศูนย์กลางไลฟ์สไตล์และการค้าชั้นนำ ทั้งนี้ การพัฒนาเป็นไปตามแผนงานที่วางไว้ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางกลยุทธ์ในด้านธุรกิจค้าปลีก พื้นที่เช่าพาณิชย์ และการเป็นศูนย์การชุมชนของคนทุกวัย
เพิ่มศักยภาพการแข่งขันทั้งในประเทศและในระดับภูมิภาค รวมถึงเพิ่มความสามารถในการตอบสนองความ ต้องการของลูกค้าจากความหลากหลายของสินค้าและบริการในราคาที่คุ้มค่า จากการฐานข้อมูลรวมที่เพิ่มข้ึน ประกอบการใช้เทคโนโลยีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกเพื่อทำความเข้าใจความต้องการของลูกค้ามากขึ้นภายใต้ กรอบกฎหมาย นำไปสู่การนำเสนอสินค้าและบริการที่ตอบโจทย์ลูกค้าทุกกลุ่ม ทั้งในประเทศไทยและระดับภูมิภาค
เพิ่มประสิทธิภาพและความคล่องตัวในการดำเนินงานของกลุ่มบริษัทฯ จากการบริหารจัดการทรัพยากร ซึ่ง รวมถึง
- การใช้สินทรัพย์ที่มีอยู่ร่วมกันอย่างเต็มศักยภาพ ตลอดจนลดความซ้ำซ้อนในการลงทุนที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เช่น ร้านค้า คลังสินค้า และระบบการจัดส่งสินค้า เป็นต้น ส่งผลให้โครงสร้างองค์กรมีประสิทธิภาพ และเพ่ิม โอกาสในการสร้างผลตอบแทนของบริษัทใหม่ในระยะยาว
- การผสานความเชี่ยวชาญของบุคลากรในส่วนธุรกิจค้าส่งและค้าปลีก รวมถึงสนับสนุนการใช้ทรัพยากรบุคคล ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะช่วยให้บริษัทฯ สามารถดำรงสถานะการเป็นผู้นำในธุรกิจค้าปลีกค้าส่ง และ ขยายขอบเขตการดำเนินธุรกิจในระดับภูมิภาคต่อไป
สร้างมูลค่าเพิ่มจากการผนึกกำลังทางธุรกิจ (Synergy) ทั้งในด้านสินค้าและบริการ การทำกิจกรรมทางการ ตลาด และสิทธิประโยชน์สำหรับลูกค้า ซึ่งสามารถเพิ่มโอกาสในการต่อยอดธุรกิจให้แก่บริษัทใหม่ เช่น การบริหาร จัดการความสัมพันธ์กับลูกค้า (Customer Relationship Management) และการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย รวมถึงการสื่อสารภาพลักษณ์องค์กรกับกลุ่มลูกค้า เป็นต้น
เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการทางการเงิน ทั้งในด้านการบริหารกระแสเงินสด การวางแผนและการ จัดหาเงินลงทุนภายใต้บริษัทใหม่
สนับสนุนเกษตรกรท้องถิ่น ผู้ผลิตรายย่อย และธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) โดยมุ่งมั่นในการ เป็นพันธมิตรทางธุรกิจทั้งในด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และการพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับสินค้าและการบริหาร จัดการธุรกิจ เพื่อให้ผู้ประกอบการภายในประเทศมีการเติบโตอย่างยั่งยืน เพื่อเป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญทางเศรษฐกิจของประเทศ
อัตราการจัดสรรหุ้นสามัญของบริษัทใหม่ที่ผู้ถือหุ้นเดิมของบริษัทฯ ได้รับ
รายละเอียด | จำนวนหุ้นสามัญ (หุ้น) |
---|---|
จำนวนหุ้นสามัญของ CPAXT (หุ้น) - (1) | 10,580,323,500 |
จำนวนหุ้นของบริษัทใหม่ (หุ้น) - (2) | 10,427,661,780 |
อัตราการจัดสรรหุ้นโดยนัย - (3) = (2) ÷ (1) (1 หุ้นสามัญของบริษัทฯ ต่อ จำนวนหุ้นสามัญของบริษัทใหม่ โดยประมาณ) | 0.9856 |
จากการคำนวณข้างต้น ผู้ถือหุ้นสามัญเดิมของบริษัทฯ จะได้รับจัดสรรหุ้นสามัญของบริษัทใหม่ตามอัตราส่วนการจัดสรรหุ้นภายหลังการควบรวมบริษัท ทั้งนี้ 1 หุ้นสามัญเดิมของบริษัทฯ ต่อ 0.9856 หุ้นสามัญของบริษัทใหม่ โดยประมาณ